วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

รู้จักสิวให้มากขึ้น


ที่มาของภาพ : http://c.lnwfile.com/_files/n6/hu/ia.jpg

    จริงอยู่ที่เรื่องสิวเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ใครบ้างจะอยากให้ใบหน้าเขรอะสิว ซึ่งวิธีที่จะสยบสิวอาจไม่ใช่การเข้าคลินิกหาหมอเพียงอย่างเดียว เพราะคุณควรรู้ที่มาที่ไปและการดูแลตนเองในขั้นเริ่มแรกเสียก่อน

    เพ็ญพรรณ วัฒนไกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ไขความข้องใจเกี่ยวกับสิวว่า สิวเป็นโรคผิวหนังที่เริ่มพบได้บ่อยในวัยรุ่น เกิดจากสาเหตุร่วมกันคือ การอุดตันในรูขุมขนเกิดเป็น โคมิโดน(สิวเสี้ยน) การขยายขนาดและการหลั่งไขมันเพิ่มของต่อมไขมัน ร่วมกับเชื้อแบคทีเรียในขุมขนทำให้เกิด การอักเสบ เป็นตุ่มหนอง 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิว 
1. กรรมพันธุ์/อายุ จะพบมากในวัยหนุ่มสาวเนื่องจาก ฮอร์โมนเพศมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน 
2. ยา/เครื่องสำอางบางอย่าง เช่น ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด สบู่บางอย่าง น้ำมันแต่งผม ทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน
3. การระคายเคือง เช่น การเสียดสี ถูไถ การนวดหน้า การล้างหน้า เป็นต้น
4. อารมณ์เครียด ความกังวล ทำให้สิวเห่อได้ 
5. อาหารบางชนิด อาจมีส่วนกระตุ้น เช่นผู้ป่วยบางรายจะสังเกตพบว่าสิวเห่อจากการรับประทานอาหารบางประเภท เช่น ถั่ว ของหวาน ของมันๆ ช็อกโกแลต 
6. ผู้หญิงหลายคนสังเกตว่า ช่วงมีประจำเดือนสิวเห่อมากขึ้น ซึ่งเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย 

ที่มาของภาพ  :http://p.s1sf.com/wo/0/ud/219/1098476/face.jpg

 การปฏิบัติตน
 
1. หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว เช่น เครื่องสำอางที่เพิ่มความมันบนใบหน้า การนวดและการขัดหน้า 2. ล้างหน้า ฟอกสบู่อ่อนเพียงวันละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ไม่ควรฟอกสบู่บ่อยเกินไป เพราะจะระคายรูขุมขนและทำให้สิวเห่อ/อักเสบ ขึ้นได้ 
3. หากต้องใช้เครื่องสำอางหรือโลชั่น ควรเลือกใช้ ชนิดOil-free ที่ไม่ก่อให้เกิดสิว (nonacnegenic) และไม่ก่อการอุดตัน (noncomedogenic) 
4. อย่าบีบ หรือแกะหัวสิวให้แตกเอง เพราะจะทำให้อักเสบมากขึ้น หายช้าลง ทำให้เกิดแผลเป็นได้ 
5. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด หรือวิตกกังวลเกินไป 
6. ถ้าเป็นสิวหัวหนอง หรือมีการอักเสบมาก ควรพบแพทย์เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นจากสิว 

   การรักษาสิว ผู้ป่วยควรจะเข้าใจว่า การรักษาสิวต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการขจัดการอุดตันของรูขุมขน โดยทั่วไปต้องใช้ยาอย่างสม่ำเสมอนาน 6-8 สัปดาห์ ก่อนจะเริ่มเห็นผลดีขึ้น และมักต้องใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายเดือน

พยาบาลน้อย

ที่มา :http://lifestyle.th.msn.com/

1 ความคิดเห็น: